เกียรติยศ ของ เค็งอิจิ ฟูกูอิ

ฟูกูอิได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีจากการค้นพบว่าออร์บิทัลเชิงโมเลกุลที่บริเวณรอยต่อ (โฮโมและลูโม) สามารถทำนายการเกิดปฏิกิริยาเคมีได้ โดยมาจากข้อสังเกตหลักสามข้อตามทฤษฎีออร์บิทัลเชิงโมเลกุล เมื่อโมเลกุลสองโมเลกุลเกิดอันตรกิริยากัน

  1. ออร์บิทัลที่มีอิเล็กตรอนเต็มจะผลักกัน
  2. ประจุบวกในนิวเคลียสของโมเลกุลหนึ่งจะดึงดูดอิเล็กตรอนของอีกโมเลกุลหนึ่ง
  3. ออร์บิทัลที่มีอิเล็กตรอนเต็มของโมเลกุลหนึ่งและออร์บิทัลว่างของอีกโมเลกุลหนึ่งจะเกิดอันตรกิริยากัน (โดยเฉพาะโฮโมและลูโม) ทำให้เกิดแรงดึงดูด

จากข้อสังเกตดังกล่าว ทฤษฎีออร์บิทัลเชิงโมเลกุลที่บริเวณรอยต่อสรุปความสัมพันธ์ความไวต่อปฏิกิริยาเคมีและอันตรกิริยาระหว่างโฮโมจากโมเลกุลหนึ่งและลูโมของอีกโมเลกุลหนึ่ง ซึ่งช่วยอธิบายกฎการทำนายของวูดเวิร์ด-ฮ็อฟมันในปฏิกิริยาเทอร์มอลเพอริไซคลิก ซึ่งนำไปสู่ข้อสรุปที่ว่า "ปฏิกิริยาเพอริไซคลิกที่สถานะพื้นจะเป็นไปได้เชิงสมมาตรเมื่อจำนวนของ (4q+2)s และ (4r)a รวมกันเป็นจำนวนคี่"[10][11][12][13]

ฟูกูอิได้รับเลือกให้เป็นภาคีสมาชิกชาวต่างชาติของราชสมาคมใน ค.ศ. 1989[2]

ใกล้เคียง

แหล่งที่มา

WikiPedia: เค็งอิจิ ฟูกูอิ http://adsabs.harvard.edu/abs/1952JChPh..20..722F http://adsabs.harvard.edu/abs/1982Sci...218..747F //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/17771019 http://pubs.acs.org/subscribe/archive/tcaw/11/i10/... http://www.jce.divched.org/JCEWWW/Features/eChemis... //doi.org/10.1063%2F1.1700523 //doi.org/10.1098%2Frsbm.2001.0013 //doi.org/10.1126%2Fscience.218.4574.747 http://nobelprize.org/nobel_prizes/chemistry/laure... https://www.washingtonpost.com/archive/local/1998/...